วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับ Labview

     Labview เป็นโปรแกรมที่ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ในบทความที่เขียนนี้เป็นบทความที่จะนำ Labview มาใช้ในด้าน Image Processing เรามาเริ่มดูกันว่า Labview นั้นจะสามารถทำอะไรได้บ้าง


     มาเริ่มจากการทดลองอ่านไฟล์รูปภาพต่างๆ ออกมาปฏิบัติการใน Labview ซึ่่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้างต่างๆได้อีกมากมาย มาเริ่มที่เข้าโปรแกรม Labview กันก่อน ซึ่งหน้าตาของโปรแกรมก็จะเป็นอย่างที่เห็นดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 แสดงโปรแกรม Labview

เมื่อเราทำการเปิดโปรแกรม Labview แล้วนั้น ให้กดที่ Blank VI เพื่อเป็นการเริ่มต้นเขียน โปรแกรม Labview ขึ้นใหม่ 


     เมื่อเราเข้าไปที่โปรแกรม เราจะเห็นหน้าต่างขึ้นมา 2 หน้าต่าง คือ หน้าต่างที่จะให้เราใส่อุปกรณ์ต่างๆลงใน Labview ดังรูปที่ 2 


รูปที่ 2 แสดงหน้าต่าง Front Panel

และรูปที่ 3 จะเป็นหน้าต่างอีกหน้าต่างนึงซึ่งจะเป็นหน้าต่างที่ให้เราเขียน block diagram ดังรูปที่ 3 ซึ่งใน Labview นี้เราจะสามารถเขียนโปรแกรมลงในหน้าต่างใดก็ได้ โปรแกรมจะมีส่วนการเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ 


รูปที่ 3 แสดงหน้าต่าง block diagram

     ก่อนอื่นเราจะมาดูกันว่ามีไฟล์รูปประเภทใดบ้างที่สามารถปฏิบัติการใน Labview ได้ 


     1. JPEG
     2. TIFF
     3. GIF
     4. PNG
     5. BMP
     6. AIPD


     ต่อไปนี้จะเป็นการเขียนโปรแกรมเพื่ออ่านไฟล์รูปภาพมาแสดงในโปรแกรม Labview ก่อนอื่นการที่เราจะแสดงภาพได้นั้นจำเป็นต้องมีจอแสดงภาพซึ่งสามารถเลือกโดยหน้าต่าง Front Panel > View > Controls Palette > Vision > Image Display หรือ Image Display (Classic) ซึ่งทางโปรแกรมจะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์ของหน้าต่าง Front Panel เป็น Block ในหน้าต่าง Block diagram ดังรูปที่ 4 ดังนี้




รูปที่ 4 แสดงอุปกรณ์แสดงผลภาพและBlock

     จากนั้นจะต้องทำการจองพื้นที่ซึ่งจะเขียนในหน้าต่าง Block Diagram เลือก View > Functions Palette > Vision and Motion > Vision Utilities > Image Management > IMAQ Create เราสามารถเรียก Help block ต่างๆได้โดยทำการคลิกขวาลงบน Block นั้นๆ จะมี Help ให้กด เพื่อดูการทำงานต่างๆ ของ Block ที่เราจะทำการเขียนได้เลย

     ลองสร้างชื่อ และ ประเภทของภาพดังนี้ เลื่อน เมาส์ ไปที่ Image Name ของ block IMAQ Create คลิกขวาเลือก Create > Constan และตั้งชื่อตามสบาย และ เลื่อน เมาส์ ไปที่ Image Type คลิกขวาเลือก Create > Control จากนั้นลองกดไปดูที่หน้าต่าง Front Panel จะได้ดังรูปที่ 5 นี้


รูปที่ 5

จะเห็นว่าในหน้าต่าง Front Panel สามารถเลือก Image Type ได้ด้วย จากนั้นก็ต้องมี Block อ่านไฟล์รูปภาพ IMAQ ReadFile VI โดยเลือก View > Functions Palette > Vision and Motion > Vision Utilities > Files > IMAQ ReadFile VI
      
     ต่อไปจะเป็นการเรียกเส้นทางไฟล์รูปภาพซึ่งจะเป็นส่วนเพิ่มเติมไปในส่วนของ IMAQ ReadFile VI ดังรูปที่ 


     

รูปที่ 6 

     ส่วนการเชื่อมต่อไฟล์ภาพนั้นจะอยู่ใน File I/O Palette นะค่ะ ลองหากันดู ใครไม่เจอ คลิกขวาที่ File Path ของ Block IMAQ ReadFile VI แล้วเลือก File I/O Palette นะค่ะ

     เสร็จแล้วนะค่ะ จากนั้นลองมากด Run ที่หน้าต่าง Front Panel โปรแกรม Labview จะให้เลือกไฟล์รูปภาพมาแสดงผล ดังรูปที่ 7 ค่ะ ซึ่งในรูปที่ 7 นี้จะเลือกให้แสดงภาพเป็นภาพสีนะค่ะ เลือก Image Type เป็น RGB (U32)


รูปที่ 7 

     มาสรุปกันนะค่ะ จากรูปที่ 6 นั้น ส่วนวงกลมสีแดงจะเป็นการเปิดจองพื้นที่การรับภาพค่ะ ส่วนวงกลมสีน้ำเงินจะเป็นเส้นทางการเปิดไฟล์ภาพ และส่วนสีเหลืองเป็นส่วนที่แสดงผลภาพออกทางหน้าต่าง Front Panel ค่ะ

     เสร็จแล้วนะค่ะ สำหรับการเรียกไฟล์ภาพมาแสดงในโปรแกรม Labview ไม่ยากกันใช่ไหมค่ะ โปรแกรม Labview ยังทำอะไรได้อีกมากนะค่ะ แล้ววันหลังเรามาลองทำกันใหม่นะค่ะ ขอบคุณค่ะ

     

3 ความคิดเห็น:

  1. มีอะไรผิดพลาดหรือต้องการรู้เกี่ยวกับอะไรแสดงความคิดเห็นไว้ด้วยนะค่ะ

    ตอบลบ
  2. สอบถามครับถ้าเราให้โปรแกรมเปรียบเทียบถาพว่าใช่ไม่ใช่จากภาพต้นแบบได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  3. สอบถามครับถ้าเราให้โปรแกรมเปรียบเทียบถาพว่าใช่ไม่ใช่จากภาพต้นแบบได้ไหมครับ

    ตอบลบ